วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

จากการเรียนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพผมได้รับความรู้มากมายจากการเรียนวิชานี้เช่น การแต่งกายให้ถูกระเบียบ
การตรงต่อเวลา การมีวินัยต่อตนเอง การทำงานเป็นกลุ่ม การมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงาน
และในการเรียนแต่ละครั้งก็มีการทำกิจกรรรมของแขนงต่างๆและนักศึกษาก็ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมด้วย
ในวันปัจฉิมนิเทศ อาจารย์ได้นิมนต์พระอาจารย์สมพงษ์ มาให้ความรู้คำแนะนำที่ดี พระอาจารย์เป็นหนึ่งในคณะ ธรรมะเดลิเวอร์รี่ท่านได้ให้ข้อคิดหลายอย่างดังนี้
1.อดีตผ่านแล้วผ่านไป
2.ความสุขอยู่ที่ตัวเรา ไม่ใช่คนรอบข้าง
3.เราเปลี่ยนแปลงโลกไม่ได้ แต่เราเปลี่ยนแปลงตัวเราได้
4.รักในงานเป็นสะพานไปสู่ความสำเร็จ
ผมชอบวิทยากรที่มาบรรยายในแขนงการตลาดมากครับ

สิ่งที่ได้รับจากวิชานี้ผมจะนำไปปฏิบัติในทางที่ถูกต้องและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ขอบคุณครับ

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS05-21-07-2552

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียน Set & String และ Linked lists

การสร้างอะเรย์ของสตริง สามารถทำได้ทั้งแบบที่กำหนดตัวแปรและแบบที่ให้ค่าเริ่มต้น จะสร้างเมื่อสตริงมีจำนวนมาก เพื่อช่วยให้เขียนโปรแกรมได้สะดวกขึ้น




ARAY ของสตริงที่ยาวไม่เท่ากัน ทำได้เฉพาะเมื่อมีการกำหนดค่าเริ่มต้นเท่านั้น


ARAY ของสตริงที่ยาวเท่ากัน ถือว่าเป็นอะเรย์ที่แท้จริง สามารถกำหนดได้ทั้งเมื่อกำหนดตัวแปรและเมื่อมีการให้ค่าเริ่มต้น โดยดำเนินการแบบกำหนดอะเรย์ 2 มิติ


Linked Lists
ลิงค์ลิสต์เป็นการจัดเก็บชุดข้อมูลเชื่อมโยงต่อเนื่องกันไปตามลำดับ ซึ่งอาจอยู่ในลักษณะแบบเชิงเส้นตรง (linear) หรือ ไม่เป็นเส้นตรง (nonlinear) ก็ได้ ซึ่งในลิสต์จะประกอบไปด้วยข้อมูลที่เรียกว่าโหนด (node) ในหนึ่งโหนดจะประกอบด้วยส่วนของข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ เรียกว่าส่วน Info และส่วนที่เป็นพอยน์เตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดถัดไป (Link) หรือชี้ไปยังโหนดอื่นๆที่อยู่ในลิสต์ หากไม่มีโหนดที่อยู่ถัดไป ส่วนที่เป็นพอยน์เตอร์หรือ Link จะเก็บค่า NULL หรือ NILL ใช้สัญลักษณ์ ^



การสร้าง Linked list
วิธีสร้าง Linked list คือการนำข้อมูลที่จะจัดเก็บเข้า Linked list เพิ่มตรงโหนดตำแหน่งสุดท้ายของลิสต์ ฉะนั้นจึงต้องมี External พอยน์เตอร์ที่คอยชี้โหนดสุดท้ายของลิสต์ ในที่นี้ใช้ L (Last) ตัวอย่างการสร้าง Linked list จากลิสต์ L = 21 , 5 , 14เริ่มจากการให้ H ชี้ทิ่โหนดตำแหน่งแรก และ L ชี้ทิ่โหนดตำแหน่งสุดท้าย



การลบข้อมูลใน Linked list
การลบข้อมูลที่ต้น list
เนื่องจากขั้นตอนของการลบข้อมูลที่ header นั้นจะมีปัญหาที่ยุ่งยากกว่าเมื่อ design ด้วย oop(java) เราสามารถที่จะแก้ปัญหานี้ได้โดยการใส่ header node ที่ว่าง ๆ ไว้ข้างหน้าของ linked list เพื่อที่จะทำหน้าที่เป็นชี้ว่าเป็นหัวโหนดโดยที่ไม่ต้องมี pointer คอยชี้ที่ header และเมื่อเราต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงข้อมูลใด ๆ บนหัวสามารถที่จะทำได้โดยการแทรก node เข้าไปดังตัวอย่างของการแทรกข้อมูลข้างล่าง

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS04-14-07-2552

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียน เรื่อง Pointer และ Set

Pointer
การกำหนดตัวแปร Pointer จะคล้ายกับการกำหนดตัวแปรชนิดต่างๆ เพียงแต่ต้องมีเครื่องหมาย * หน้าชื่อตัวแปร ดังนี้
int *pt;


char *pt;


ในที่นี้กำหนดให้ pt เป็นตัวแปร Pointer ซึ่งเก็บ Address ของตัวแปรชนิดตัวเลขจำนวนเต็ม
ในเรื่อง Pointer มีเครื่องหมาย 2 ชนิด คือ * และ & เครื่องหมาย * จะให้ค่า ของข้อมูล ซึ่งเก็บอยู่ใน Address โดย Address นี้เก็บ อยู่ในตัวแปร Pointer ซึ่งอยู่หลังเครื่องหมาย * สำหรับเครื่องหมาย & จะให้ค่า Address ของตัวแปรซึ่งอยูหลังเครื่องหมาย &


การประกาศตัวแปรPointerต้องมีระบุตัวดำเนินการ (Operator) เพื่อบอกว่าตัวแปรดังกล่าวเป็นตัวแปรแบบตัวชี้ โดยตัวดำเนินการที่ใช้คือ * และ & เช่น จะประกาศตัวแปรชนิดPointer คือ int *countPtr; ในที่นี้หมายถึง ตัวแปร countPtr ถูกประกาศให้เป็นตัวแปรชนิด Pointer และทำหน้าที่ชี้ (เก็บ Address) ไปยังตำแหน่งที่เก็บค่าจำนวนเต็ม(เป็นชนิดเดียวกับที่เราประกาศไว้ ในที่นี้คือ Integer)
ตัวอย่าง code
int x = 10;
int *xPtr;
xPtr = &x; //ชี้ไปยังตำแหน่ง x

pointer กับ array
pointer และ array มันถูกนำมาอธิบายไว้ด้วยกัน เพราะ pointer กับ array มีหลายอย่างที่คล้ายๆ กัน และอันที่จริงเราสามารถสร้าง array จาก pointer ได้ ซึ่งแม้จะมีข้อเสียที่ใช้งานได้ยากกว่า แต่ก็มีข้อดีที่ทำงานได้เร็วกว่าPointer และ array มักถูกนำมาใช้ร่วมกันอยู่เสมอเนื่องจาก array เป็นข้อมูลในหน่วยความจำที่เรียงติดกันไป เราจึงอาจใช้ pointer เพื่อวนเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS03-30-06-2552

อะเรย์ เป็นแบบหนึ่งของโครงสร้างที่เรียกว่า Linear List ซึ่งมีจำนวนรายการ ( Element) จำกัด และข้อมูลที่เก็บอยู่ในอาร์เรย์แต่ละช่องจะต้องเป็นข้อมูลชนิดเดียวกัน อยู่ภายใต้ตัวแปรชื่อเดียวกัน โดยขนาดของแต่ละช่องต้องเท่ากันหมด การอ้างถึงข้อมูลในแต่ละช่องของของอาร์เรย์ ต้องอาศัยตัวห้อย Subscript เช่น กำหนดให้ Array A มีขนาด 100 รายการ A[5] จะหมายถึง ค่าของอาร์เรย์ตำแหน่งที่ 5 ในอาร์เรย์นั้น ซึ่ง Subscript ก็คือ เลข 5 จำนวน Subscript ที่ต้องการใช้เวลาเรียกใช้ค่าใน Array เรียกว่า มิติ ไดเมนชั่น ( Dimention) ของ Array นั้น

ความหมายของอาร์เรย์ โครงสร้างข้อมูลแบบอาร์เรย์ (Array) หรือตัวแปรชุด มี 2 ความหมาย คือ
1. ความหมายโดยทั่วไปอาร์เรย์ หมายถึงโครงสร้างที่นำข้อมูลชนิดเดียว กันมาจัดเรียงกันเป็น n มิติเป็นโครงสร้าง ตารางรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2. ความหมายทางคอมพิวเตอร์อาร์เรย์ หมายถึง กลุ่มของช่วงความจำ ในหน่วยความที่ใช้เก็บข้อมูลชนิดเดียวกันและ ทุกช่องต้องมีขนาดเท่ากัน ภายใต้ตัวแปรเดียวกัน

การสร้าง Array ขึ้นมาใช้งานนั้น ต้องคำนึงถึง
1. ชื่อของ Array
2. ขนาดของ Array แต่ละช่อง และมิติของ Array
3. ค่าสูงสุด ( Upper Bound) และค่าต่ำสุด (Lower Bound) ในแต่ละมิติ

ARRAY 1 มิติ คือ Array ที่มีลักษณะเป็นตารางแถวเดียว Array 1 มิติ

รูปแบบ data-type array-name[expression]
Data-type คือประเภทของข้อมูลอะเรย์
Array-name คือชื่อของอะเรย์
Expression คือนิพจน์จำนวนเต็มซึ่งระบุจำนวนสมาชิกของอะเรย์

อาร์เรย์2มิติ อาร์เรย์ 2 มิติ คือ อาร์เรย์ที่มีลักษณะที่เป็นตารางที่มี 2 ด้าน คือ ทางด้านแนวนอน ( ROW) และแนวตั้ง ( COLUMN) มีจำนวนช่องเท่ากับ จำนวนช่องทางด้านแนวนอน ( ROW) คูณกับจำนวนช่องทางด้านแนวตั้ง ( COLUMN) การอ้างถึง Array 2 มิติ ต้องใช้ Subscript 2 ตัว คือ ROW และ COLUMN

รูปแบบ type array-name[n][m];
Type คือชนิดของตัวแปรที่ต้องประกาศเป็นอะเรย์
Array-name คือชื่อขงอตัวแปรที่ต้องการประกาศเป็นอะเรย์
n คือตัวเลขที่แสดงตำแหน่งแถว
m คือตัวเลขที่แสดงตำแหน่งของคอลัมน์

structure

การนิยาม structure
รูปแบบ struct struc-name{
Type name-1;
Type name-2;
……..
Type name-n;
}struc-variable;


วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS02-23-06-2552

#include
#include
int main(void)
{
struct fan{
char series[20];
char brand[10];
float price;
char color[10];
float weight;
float tall;
float power;
char type[20];
}
product;
strcpy(product.series,"SonyE700");
strcpy(product.brand,"SONY");
product.price=750;
strcpy(product.color,"Green");
product.weight=2.5;
product.tall= 125;
product.power=100;
strcpy(product.type,"floor");

printf("Series : %s\n Brand : %s\n Price : %f\n Color : %s\n Weight : %f\n Tall : %f\n Power :%f\n Type : %s\n",
product.series,product.brand,product.price,product.color,product.weight,product.tall,product.power,product.type);
return 0;
}

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติ

นายกำจรเดช แสงคำ รหัสนักศึกษา 50172792046

Mr.kamjorndech Seangkum

หลักสูตร : การบริหารธุรกิจ(คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต

E-mail : u50172792046@gmail.com
: dech_ap@hotmail.com