วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS05-21-07-2552

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียน Set & String และ Linked lists

การสร้างอะเรย์ของสตริง สามารถทำได้ทั้งแบบที่กำหนดตัวแปรและแบบที่ให้ค่าเริ่มต้น จะสร้างเมื่อสตริงมีจำนวนมาก เพื่อช่วยให้เขียนโปรแกรมได้สะดวกขึ้น




ARAY ของสตริงที่ยาวไม่เท่ากัน ทำได้เฉพาะเมื่อมีการกำหนดค่าเริ่มต้นเท่านั้น


ARAY ของสตริงที่ยาวเท่ากัน ถือว่าเป็นอะเรย์ที่แท้จริง สามารถกำหนดได้ทั้งเมื่อกำหนดตัวแปรและเมื่อมีการให้ค่าเริ่มต้น โดยดำเนินการแบบกำหนดอะเรย์ 2 มิติ


Linked Lists
ลิงค์ลิสต์เป็นการจัดเก็บชุดข้อมูลเชื่อมโยงต่อเนื่องกันไปตามลำดับ ซึ่งอาจอยู่ในลักษณะแบบเชิงเส้นตรง (linear) หรือ ไม่เป็นเส้นตรง (nonlinear) ก็ได้ ซึ่งในลิสต์จะประกอบไปด้วยข้อมูลที่เรียกว่าโหนด (node) ในหนึ่งโหนดจะประกอบด้วยส่วนของข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ เรียกว่าส่วน Info และส่วนที่เป็นพอยน์เตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดถัดไป (Link) หรือชี้ไปยังโหนดอื่นๆที่อยู่ในลิสต์ หากไม่มีโหนดที่อยู่ถัดไป ส่วนที่เป็นพอยน์เตอร์หรือ Link จะเก็บค่า NULL หรือ NILL ใช้สัญลักษณ์ ^



การสร้าง Linked list
วิธีสร้าง Linked list คือการนำข้อมูลที่จะจัดเก็บเข้า Linked list เพิ่มตรงโหนดตำแหน่งสุดท้ายของลิสต์ ฉะนั้นจึงต้องมี External พอยน์เตอร์ที่คอยชี้โหนดสุดท้ายของลิสต์ ในที่นี้ใช้ L (Last) ตัวอย่างการสร้าง Linked list จากลิสต์ L = 21 , 5 , 14เริ่มจากการให้ H ชี้ทิ่โหนดตำแหน่งแรก และ L ชี้ทิ่โหนดตำแหน่งสุดท้าย



การลบข้อมูลใน Linked list
การลบข้อมูลที่ต้น list
เนื่องจากขั้นตอนของการลบข้อมูลที่ header นั้นจะมีปัญหาที่ยุ่งยากกว่าเมื่อ design ด้วย oop(java) เราสามารถที่จะแก้ปัญหานี้ได้โดยการใส่ header node ที่ว่าง ๆ ไว้ข้างหน้าของ linked list เพื่อที่จะทำหน้าที่เป็นชี้ว่าเป็นหัวโหนดโดยที่ไม่ต้องมี pointer คอยชี้ที่ header และเมื่อเราต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงข้อมูลใด ๆ บนหัวสามารถที่จะทำได้โดยการแทรก node เข้าไปดังตัวอย่างของการแทรกข้อมูลข้างล่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น